จากประสปการณ์ของบอนไซฮันเตอร์ มีสามปัจจัยหลักๆที่มีผลของการเกิดคราบบนกระถางบอนไซของเรา
ประการแรกเลยขึ้นอยู่กับกระถางว่าถูกสร้างขึ้นแบบใด หากมีการเคลือบทั้งภายในและภายนอก แร่ธาตุ คราบและตะไคร่น้ำจะใช้เวลานานกว่าปกติในการเกาะตัว เนื่องจากพื้นผิวได้รับการปิดผนึกจากวัสดุเคลือบ แร่ธาตุ คราบเกลือจะเกาะตัวอยู๋ที่ผิวภายนอกและสามารถล้างออกได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันกระถางที่ไม่ได้เคลือบ จะมีรูพรุนและสามารถดูดซับของเหลวได้ดี ปัจจัย นี้จะทำให้เกลือแร่ที่มาจากด้านในกระถางทิ้งคราบจากการระเหยออกผ่านผนัง และเริ่มที่จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆบนพื้นผิวด้านนอก กระถางเคลือบใช่ว่าจะดีกว่ากระถางปกติเสมอไปซึ่งโดยส่วนตัวแล้วการเลือกใช้กระถางจะมาจากลักษณะของบอนไซเป็นสำคัญ ความคลาสสิคของเนื้อดินของกระถางก็มีผู้หลงไหลกระถางไม่ได้เคลือบเป็นจำนวณมาก
ประการที่สองประเภทของน้ำที่ใช้รด จะมีผลอย่างมากที่เป็นตัวนำพาแร่ธาตุ ตะกอน ที่จะมาสะสมผนผิวกระถาง น้ำในเมืองหรือน้ำประปาจะมีปริมาณเหล่านี้ลดลงไป ดังนั้นจึงใช้เวลานานกว่าน้ำคลอง น้ำบาดาล ในการสะสมคราบ(โดยเฉพาะคราบหินปูน คราบเกลือ) ในกระถาง แต่ทว่าน้ำที่ดีมักจะมีเนื้อของธาตุเหล็ก แคลเซียมและปลอดคลอรีน ซึ่งเป็นผลดีกับบอนไซส่วนใหญ่แต่จะสามารถสร้างคราบบนกระถางได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน
ประการที่สามคือปริมาณและชนิดของปุ๋ยที่ให้กับต้นไม้ ซึ่งจะมีผลต่อความเร็วของเกลือแร่ หินปูนที่สร้างขึ้น เนื่องจากปุ๋ยทั้งหมดจะละลายในน้ำ ถ้าปริมาณมากเกินไปและไม่ได้มีถูกชำระล้างออกจากกระถางสิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในเนื้อดินเป็นอย่างดี ถ้าเป็นกระถางเคลือบที่อาจจะคงทนต่อการเกิดคราบจะช้าลงบ้าง แต่แล้วในที่สุดเกลือแร่เหล่านี้จะอยุ่สะสมในรูพรุนของเนื้อกระถาง และจะแสดงให้เห็นบนพื้นผิวนอกของมันเมื่อระยะเวลาผ่านไป
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักที่มาที่ไปของการเกิดคราบแล้ว เราสามารถพึงเลือกใช้กระถางให้เหมาะสม ไม่ใช่แค่รูปทรง ลักษณะผิว แต่หากผลของการเกิดคราบด้วยเช่นกันครับ
อ่านสนุกมากครับ
แวะมาเยี่ยมชมเว็บเราบ่อยๆนะครับ
กระถางบอนไซ มีส่วนช่วยเสริมให้บอนไซของเราทรงคุณค่ามากมายเลยครับ